สถิติ
เป็นศาสตร์ของข้อมูล
ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
การตีความและการสรุปผลจากข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ
1. สถิติพรรณนา (descriptive
statistics) : การนำเสนอข้อมูลโดยกราฟ ตาราง
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
2. สถิติอนุมาน (inferential
statistics) : เป็นสถิติที่ใช้ทำนายข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง(sample)
อ้างอิงไปถึงประชากร
(population)
ศัพท์ทางสถิติ
ประชากร (population) : กลุ่มของสมาชิกทุกหน่วยที่เราต้องการศึกษาลักษณะบางประการ
ประชากรอาจเป็นคน สัตว์
สิ่งของ
เช่น
- นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
พารามิเตอร์ (parameter) :
ค่าคงที่ที่แสดงลักษณะบางประการของประชากร เช่น
ค่าเฉลี่ยของประชากร (m), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (s), ความแปรปรวนของประชากร (s 2) เป็นต้น
ตัวอย่าง (sample)
: กลุ่มตัวอย่างของสมาชิกในกลุ่มประชากร เช่น
-
สุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์
100 คน
- สุ่มกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งมา
50 คน
ค่าสถิติ (Statistic)
: ค่าที่ได้จากการวัดผลจากตัวอย่าง เช่น ค่าเฉลี่ย (X ̅), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s), ความแปรปรวน (s 2)
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น