1. จำแนกตามการจัดเก็บข้อมูล
>>>
ข้อมูลปฐมภูมิ
(primary
data) : เป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง
>>>
ข้อมูลทุติยภูมิ
(secondary
data) : เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งอื่นๆที่มีผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่นเก็บข้อมูลไว้แล้ว
2. จำแนกตามลักษณะของข้อมูล
>>> ข้อมูลเชิงคุณภาพ
(qualitative
data) หรือ
ข้อมูลจำแนกประเภท
(categorical
data) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้
เช่น เพศ สถานภาพ เป็นต้น หรือถ้าวัดค่าเป็นตัวเลขได้ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่ค่าที่แท้จริง
เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เลขบัตรประชาชน เป็นต้น
>>> ข้อมูลเชิงปริมาณ
(quantitative
data) หรือ
ข้อมูลเชิงตัวเลข (numerical
data) เป็นข้อมูลที่วัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้
แบ่งเป็น
-
ข้อมูลต่อเนื่อง
(continuous
data) : ข้อมูลที่วัดค่าได้อย่างละเอียด
เป็นทศนิยม เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นต้น
-
ข้อมูลวิยุต/ไม่ต่อเนื่อง
(discrets
data) : ข้อมูลที่เป็นจำนวนเต็ม
3.จำแนกตามมาตราของการวัดข้อมูล
>>> มาตรานามบัญญัติ
(nominal
scale) : เป็นข้อมูลที่มีการแบ่งกลุ่ม
ไม่สามารถเรียงลำดับก่อนหลังได้ เช่น เพศ, กรุ๊ปเลือด เป็นต้น
>>> มาตราอันดับ
(ordinal
scale) : เป็นข้อมูลที่มีการเเบ่งกลุ่ม
สามารถเเบ่งลำดับก่อนหลังได้ เช่น
ผลการเรียน,
ความรุนเเรงของโรค เป็นต้น
>>> มาตราช่วง
(interval
scale) : เป็นมาตราวัดที่สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณความแตกต่างระหว่างค่าที่วัด ได้แน่นอน โดยจุดเริ่มต้นของการวัดไม่จำเป็นต้องอยู่ที่จุดศูนย์(ค่าที่วัดได้ศูนย์ไม่ใช่ศูนย์ที่แท้จริง)
เช่น คะแนนเท่ากับศูนย์
ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความรู้
>>> มาตราอัตราส่วน(ratio
scale) : เป็นมาตราการวัดที่สมบูรณ์ที่สุดเป็นการวัดที่สามารถบอกปริมาณความแตกต่างและจุดศูนย์เป็นศูนย์ที่แท้จริง
เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------------------
***ข้อมูลเชิงคุณภาพ
>>>
ข้อมูลที่มีมาตราการวัดแบบ
nominal
/ ordinal
***ข้อมูลเชิงปริมาณ
>>>
ข้อมูลที่มีมาตราการวัดแบบ interval/
ratio
ตารางเเสดงชนิดข้อมูล